วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โปรแกรมสวิตซ์กดติด-ปล่อยดับ

  สำหรับการทดลองในบทความนี้จะเป็นการใช้งานพอร์ตอินพุตของ ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC โดยการต่อสวิตซ์เพิ่มเข้ามาเพื่อที่จะนำมาใช้ในการควบคุมพอร์ตเอาต์พุตของไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC เอาล่ะครับทีนี้ มีสวิตซ์เพิ่มเข้ามาท้าทายความสามารถ ยิ่งทำให้อยากลองแล้วใช่มั๊ยครับ

ขั้นตอนที่ 1

 ประกอบวงจรตามรูปด้านล่าง ลงในโปรแกรม Proteus ครับ



คำสั่งที่ใช้ในการโปรแกรม

while()  เป็นคำสั่งทำงานซ้ำแบบมีเงื่อนไขครับ ซึ่งจะทำงานวนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ


output_x(...)   เป็นคำสั่งส่งข้อมูลออกทางเอาต์พุตในพอร์อตที่ต้องการตามค่าที่กำหนด เช่น output_b(0x01);

delay_ms(...)  เป็นคำสั่งหน่วงเวลา เช่น delay_ms(500); โปรแกรมจะหน่วงเวลา 500ms ซึ่งค่านี้เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการครับ


set_tris_x()  เป็นคำสั่งกำหนดพอร์ตใช้งานให้พอร์ตอินพุต หรือเอาต์พุต โดยการกำหนดค่าให้กับฟังก์ชัน set_tris_x() เช่น set_tris_b(0x00); , set_tris_a(0xff);


value = input() เป็นคำสั่งอ่านข้อมูลจากพอร์ตอินพุตที่ต้องการ เช่น a=!input(pin_a0);

output_bit()  เป็นคำสั่งส่งข้อมูลออกทางเอาต์พุตในระดับบิต เช่น output_bit(pin_b0,a);
 

ขั้นตอนที่ 2

เริ่มเขียนโปรแกรมกันเลยครับ



#include <16F84A.h>
#use delay(clock=4000000)
#fuses XT,NOWDT,NOPROTECT
#use fast_io(A)
#use fast_io(B)


int1 a;                                      //  คำสั่งประกาศตัวแปร a เป็นเลขจำนวนเต็มขนาน 1 บิต

void main()

{
  set_tris_a(0xff);                        //  คำสั่งกำหนดพอร์ต A เป็นพอร์ตอินพุตทั้งหมด
  set_tris_b(0x00);                      //  คำสั่งกำหนดพอร์ต B ให้เป็นพอร์ตเอาต์พุตทั้งหมด

  output_b(0b00000000);            //  คำสั่งเคลียร์พอร์ต B ให้เป็น 0 ทุกบิต
  
  while(true)                              //  คำสั่งวนซ้ำแบบมีเงื่อนไข
        {
          a=!input(pin_a0);            //  คำสั่งอ่านข้อมูลจากพอร์ตอินพุต ขา a0
          output_bit(pin_b0,a);       //  คำสั่งส่งข้อมูลออกทางเอาต์พุตขนาด 1 บิต
        }                                      //  โดยนำค่า a ส่งออกที่ขา b0
}






การทำงานของโปรแกรม

  •    เมื่อยังไม่มีการกดสวิตซ์
           input(pin_a0) มีค่าเป็นลอจิก 1 เมื่อใส่เครื่องหมายนิเสธ "!" เข้าไปจะมีการกลับสถานะข้อมูลจากลอจิก 1 เป็นลอจิก 0 (!input(pin_a0) มีค่าเป็นลอจิก 0) ดังนั้น ค่า a = 0 เมื่อนำค่า a ส่งออกไปยังพอร์ตเอาต์พุตขา b0 LED1 จึงยังไม่ติด
  •   เมื่อมีการกดสวิตซ์ 
          input(pin_a0) มีค่าเป็นลอจิก 0 เมื่อใส่เครื่องหมายนิเสธ "!" เข้าไปจะมีการกลับสถานะข้อมูลจากลอจิก 0 เป็นลอจิก 1 (!input(pin_a0) มีค่าเป็นลอจิก 1) ดังนั้น ค่า a = 1 เมื่อนำค่า a ส่งออกไปยังพอร์ตเอาต์พุตขา b0 LED1 จึงติด


        หรือถ้าหากต้องการให้ LED1 ทำงานเป็นตรงกันข้าม คือ กดดับ-ปล่อยติด เราก็สามารถที่จะแก้โปรแกรมที่บรรทัด a=!input(pin_a0); ให้เป็น a=input(pin_a0); ได้เช่นกันครับ

        เมื่อรู้ผลกันแล้วทุกท่านคงจะพอเข้าใจการใช้งานพอร์ตอินพุตของ ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC 
กันบ้างแล้ว ขอให้สนุกกับการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์นะครับ แล้วเจอกันในบทความหน้าครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น