วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โปรแกรมไฟวิ่ง

     บทความนี้เราจะมาศึกษาโปรแกรมไฟวิ่งกันครับ หลังจากที่ได้ทดลองเขียน โปรแกรมไฟกระพริบ LED 2 ดวง กันไปแล้ว ทีนี้เรามาทดลองเขียนโปรแกรมไฟวิ่งกันบ้างครับ ซึ่งจะใช้ LED ทั้งหมด 8 ดวงต่อเข้ากับพอร์ตเอาต์พุต B ทั้งหมด เพื่อที่จะให้ท่านที่เขียนไมโครคอนโทรลเลอร์มือใหม่ ได้เข้าใจการใช้งานเอาต์พุตพอร์ตดิจิตอลทั้ง 8 บิตควบคุม LED 8 ดวง มาเริ่มกันเลยครับ

ขั้นตอนที่ 1

 ประกอบวงจรตามรูปด้านล่าง ลงในโปรแกรม Proteus ครับ



คำสั่งที่ใช้ในการโปรแกรม

while()  เป็นคำสั่งทำงานซ้ำแบบมีเงื่อนไขครับ ซึ่งจะทำงานวนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ


for() เป็นคำสั่งทำงานซ้ำที่มีจำนวนลูปที่แน่นอน และจะหยุดทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ เช่น
for(i=1;i<=9;i++)

output_x(...)   เป็นคำสั่งส่งข้อมูลออกทางเอาต์พุตในพอร์อตที่ต้องการตามค่าที่กำหนด เช่น output_b(0x01);

delay_ms(...)  เป็นคำสั่งหน่วงเวลา เช่น delay_ms(500); โปรแกรมจะหน่วงเวลา 500ms ซึ่งค่านี้เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการครับ


set_tris_b()  เป็นคำสั่งกำหนดให้พอร์ต B เป็นเอาต์พุตทั้งหมดนั่นเอง โดยการกำหนดค่าให้กับฟังก์ชัน set_tris_b() เท่ากับ 0x00 เช่น set_tris_(0x00);


ขั้นตอนที่ 2

เริ่มเขียนโปรแกรมกันเลยครับ



#include <16F84A.h>
#use delay(clock=4000000)
#fuses XT,NOWDT,NOPROTECT
#use fast_io(A)
#use fast_io(B)

void main()
{
  char i,j;                                   //  กำหนดตัวแปร i,j
  set_tris_b(0x00);                      //  คำสั่งกำหนดพอร์ต B ให้เป็นพอร์ตเอาต์พุตทั้งหมด
  output_b(0b00000000);            //  คำสั่งเคลียร์พอร์ต B ให้เป็น 0 ทุกบิต
  
  while(true)                              //  คำสั่งวนซ้ำแบบมีเงื่อนไข
        {
           j=1;                               //  กำหนดตัวแปร j=1
           for(i=1;i<=8;i++)           //  คำสั่งทำซ้ำโดยกำหนดให้ i=1,i<=8,i=i+1
              {
                output_b(j);               //  กำหนดให้เอาต์พุตพอร์ต B = j
                j=j<<1;                    //  ให้ตัวแปร j เลื่อนบิตไปทางซ้าย 1 ตำแหน่ง
                delay_ms(1000);        //  คำสั่งหน่วงเวลา 1 วินาที
              }
         }
  }
      



การทำงานของโปรแกรม

      เมื่อ
โปรแกรมไฟวิ่งเริ่มทำงาน LED 1 จะติดโดยหน่วงเวลา 1 วินาทีถึงจะดับ พร้อมกันนี้ LED 2 ก็จะติดด้วยโดยหน่วงเวลา 1 วินาทีเช่นกัน เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนถึง LED 8 แล้วก็จะวนซ้ำกลับมาติดที่ LED 1 อีกครั้ง

    เป็นยังไงบ้างครับโปรแกรมไฟวิ่ง เมื่อได้ลองกันแล้วง่ายมากเลยใช่มั๊ยครับ
    ทีนี้ก็ลองแก้โปรแกรมที่บรรทัด for(i=1;i<=8;i++) ให้เป็น for(i=1;i<=5;i++) แล้วทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ดูบ้างนะครับว่าLED 1 ถึง LED 8จะมีการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง

    แล้วลองแก้ที่บรรทัด  j=1; ให้เป็น j=3; แล้วทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่เช่นกัน แล้วสังเกตุดูการเปลี่ยนแปลงของ LED 1 ถึง LED 8 ว่ามีการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง

   อีกบรรทัดครับ แก้ j=j<<1; ให้เป็น j=j<<2; แล้วทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ สังเกตุดูการเปลี่ยนแปลงของ LED 1 ถึง LED 8 ว่ามีการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง 

  
ไมโครคอนโทรลเลอร์ ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดครับ ยิ่งทำยิ่งรู้ ยิ่งสนุก และผมหวังว่าทุกท่านคงจะนำโปรแกรมไฟกระพริบนี้ไปประยุกต์ใช้งานตามที่ท่านต้องการได้นะครับ ขอให้สนุกกับโปรแกรมไฟวิ่ง
ครับ

  
 

2 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าจะเขียนคำสั่งไฟวิ่งซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย เขียนไงครับ

    ตอบลบ
  2. Columbia TiM Cotton Cotton Pants | T-Shirt.com
    Columbia TiM titanium men\'s wedding band Cotton Pants. $40.00. Cotton Cotton Cotton Pants titanium chloride | ford edge titanium 2019 T-Shirt.com. Cotton Cotton Cotton Pants | T-Shirt.com. chi titanium flat iron Cotton Cotton 2017 ford focus titanium Cotton Pants | T-Shirt.com. Cotton Cotton Cotton Pants.

    ตอบลบ